ปลัดมหาดไทยเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์เขาใหญ่เพื่อสังคม
ปลัดมหาดไทยร่วมกับภาคีเครือข่าย มอบจักรยานให้แก่นักเรียนในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พร้อมเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์เขาใหญ่เพื่อสังคม พร้อมมอบโอวาทนักเรียนทุกคนต้องมีหัวใจนักปราชญ์ รู้หน้าที่ มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณและประเทศชาติ
เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 เวลา 16.00 น. ที่โรงเรียนบ้านปรางคล้า ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยนายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวา นางสาวจิณิณ ตระการสืบกุล ประธานมูลนิธิอิ่มอกอิ่มใจ และได้รับเมตตาจาก พระราชวชิราลังการ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธ) เจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณวราราม วรวิหาร ร่วมมอบจักรยาน รวม 70 คัน ให้กับนักเรียนในพื้นที่อำเภอปากช่อง โดยมี รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายบรรจบ จันทรัตน์ รองอธิบดีกรมการปกครอง นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ว่าที่ร้อยเอก ธีรพงศ์ ครุธดิลกานันท์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายคณัสชนม์ ศรีเจริญ นายอำเภอปากช่อง นายพัฒนพงษ์ ซาชิโย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 4 หัวหน้าส่วนราชการ นางมาลัย มูลภักดี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปรางคล้า คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ร่วมกิจกรรม
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญกับการศึกษาของเด็กและเยาวชน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้ เด็กไทยทุกคนเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน การดูแลสุขภาพที่ดีและพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านการส่งเสริมให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสมตามวัย รวมไปถึงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ และการปฏิบัติตนที่ดีต่อสังคม มีความรักสามัคคี และให้ความสำคัญกับสถาบันหลักของชาติ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้และรับผิดชอบเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม จนเกิดเป็นวิถีชีวิตอย่างยั่งยืน
“การได้มาพบปะคณะผู้บริหาร คุณครู และนักเรียนในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในวันนี้ เป็นโอกาสอันดีที่ตนได้นำคณะผู้บริหารจากกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนภาคีเครือข่ายมาร่วมมอบจักรยานให้กับลูก ๆ หลาน ๆ เพื่อการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่สถานศึกษา สถานสงเคราะห์ต่าง ๆ ตาม นโยบายของกระทรวงมหาดไทย เป็นการขับเคลื่อนพลัง "บวร" บ้าน วัด ราชการ และโรงเรียน โดยได้รับเมตตาอย่างสูงยิ่งจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระราชวชิราลังการ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธ) เจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณวราราม วรวิหาร ผู้เป็นหลักชัยของพี่น้องพุทธศาสนิกชนและประชาชนทุกศาสนิก ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา น้อมนำพระราโชบายของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช รวมถึงแนวนโยบายของฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม ซึ่งมีเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ประธานกรรมการฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม ตลอดจนถึงฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ซึ่งมีเจ้าประคุณสมเด็จ พระมหาธีราจารย์ ประธานกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 สู่หมู่บ้านคุณธรรม ซึ่งมีเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เป็นหลักชัย ร่วมเมตตาให้กระทรวงมหาดไทยได้เป็นภาคีเครือข่ายผ่าน การประกาศเจตนารมณ์ลงนาม MOU ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคศาสนา อันทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอได้รับโอกาสที่ดีร่วมกับคณะสงฆ์สร้างเสริมหนุนนำ สิ่งที่ดีให้เกิดกับประชาชนทุกช่วงวัย” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า วันนี้ลูก ๆ หลาน ๆ โชคดีที่ได้รับ โอกาสดี ๆ จากลุง ๆ ป้า ๆ ผู้ใหญ่ใจดี ที่จะทำให้เราสามารถออกกำลังกาย ได้เดินทางไปมาระหว่างโรงเรียนมาบ้านหรือระหว่างบ้านไปยังสถานที่อื่น ๆ ได้อย่างสะดวก และเกิดประโยชน์กับชีวิต เพราะจักรยานนี้นอกจากจะช่วยให้เรามีร่างกาย ที่แข็งแรง จักรยานยังช่วยให้โลกใบเดียวของพวกเราแข็งแรงด้วย เพราะว่าไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่ปลดปล่อยควันเสียที่จะก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน และที่สำคัญที่สุดของ การใช้จักรยาน คือ ต้องมีวินัยจราจร และมีความระมัดระวัง อย่าขี่กลางถนน ขอให้ขี่ในช่องทางที่จราจรได้จัดไว้ให้ และควรหมั่นเช็คสมรรถนะของจักรยานอยู่เสมอ เพราะจักรยานถือได้ว่าเป็นยานพาหนะที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดถ้าเทียบกับรถหรือยานพาหนะอื่น ๆ บนท้องถนน
“ขอให้ลูก ๆ หลาน ๆ ตั้งใจดูแลสุขภาพของตนเอง รวมไปถึงการเล่นกีฬาต่าง ๆ และที่สำคัญอย่าลืมการเรียนในห้องเรียน ขอให้นำเอาหลักหัวใจนักปราชญ์ อันประกอบด้วย "สุ จิ ปุ ลิ“ โดย สุ : สุตะ คือ การตั้งใจฟังคุณครู ต่อมา คือ จิ : จินตะ คือ การคิดทบทวนตามสิ่งที่คุณครูสอน ซึ่งหากมีข้อสงสัยก็ให้ถาม ซึ่งสิ่งนี้ เรียกว่า ปุ : ปุจฉา พร้อมกับการจดบันทึกเพื่อนำไปทบทวนอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ ที่เรียกว่า ลิ : ลิขิต นอกจากนี้ เราเป็นคนไทยที่ต้องคำนึงถึงคำว่า “พระคุณของผู้มีพระคุณ” ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา : ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี” ด้วยการแสดงกตเวทิตา คุณทั้งต่อคุณพ่อ คุณแม่ คุณครู ญาติผู้ใหญ่ ตลอดจนถึงประเทศชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักที่สำคัญของชาติไทย” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม
จากนั้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์เขาใหญ่เพื่อสังคม ภายในบริเวณโรงเรียนบ้านปรางคล้า โดยมี คุณจิณิณ ตระการสืบกุล ประธานมูลนิธิอิ่มอกอิ่มใจ และกรรมการบริษัท ภูพบฟ้า จำกัด เป็นภาคีเครือข่ายหลักในการสนับสนุน โดยศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ประกอบไปด้วยฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ อาทิ ฐานความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ฐานเขาใหญ่ต้นกำเนิดลำตะคองสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชาวนครราชสีมา ฐานผ่าน ศรัทธาแห่งเจ้าพ่อเขาใหญ่ ฐานประวัติความเป็นมาของดงพญาไฟหรือดงพญาเย็นในปัจจุบัน และฐานเขาใหญ่กับพระบรมโพธิสมภาร ซึ่งเป็นฐานที่นำเสนอเกี่ยวกับ การทดลองฝนหลวงแห่งแรกของประเทศไทย อันเป็นพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงมีต่อพี่น้องประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า พร้อมทั้งเดินชมสนามเด็กเล่น และแปลงผักสวนครัวของโรงเรียน
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวภายหลังการเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ฯ ว่า กระทรวงมหาดไทยได้มอบแนวทางที่สำคัญให้กับท่านผู้ว่าราชการ จังหวัดทุกจังหวัด ตลอดจนนายอำเภอ และภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทย ในการนำแนวทางการสร้าง “สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา” ด้วยการสร้างความเป็น หุ้นส่วน (Partnership) ให้เกิดความร่วมมือกันในชุมชน เพื่อให้เด็กเล็กในท้องถิ่นได้มีโอกาสได้รับการดูแลพัฒนาให้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัยผ่านการเล่น การเรียนรู้สภาพแวดล้อมและธรรมชาติรอบตัว ซึ่งเป็นปฐมบทของคุณภาพชีวิตของเด็กเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไปในอนาคต รวมทั้งดำเนินการขยายผลสนาม เด็กเล่นสร้างปัญญาสู่พื้นที่ของชุมชน ให้มีลักษณะเป็นพื้นที่เปิดโล่ง (Open Space) ให้คนในชุมชนได้มีพื้นที่ร่วมกันทำกิจกรรมอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ในการ พัฒนาศักยภาพ สุขภาวะ คนทุกเพศทุกวัยได้ใช้เวลาร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียมทางสังคม ความมั่นคง ความรักและความสามัคคีของคนในชุมชน และประการสุดท้าย ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สนามเด็กเล่นสร้างปัญญาหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยให้มีการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ มีการจัดทำ ถังขยะเปียกลดโลกร้อน สร้างการเรียนรู้จากประโยชน์ที่ได้จากการคัดแยกขยะในแต่ละชนิด มีการบริหารจัดการน้ำด้วยธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด เพื่อใช้ประโยชน์ จากน้ำที่ใช้ทำความสะอาดสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา นำไปรดต้นไม้ในแปลงผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่งคงทางอาหาร มีแปลงผักปลอดสารพิษ ทำรั้วสีเขียวจาก พืชกินได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์และปลูกฝังในการปลูกผักกินเอง เพื่อลดรายจ่าย โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” มาปรับใช้ในพื้นที่ดังกล่าว รวมไปถึง “การเลี้ยงไก่ไข่” โดยให้เด็ก 1 คน เลี้ยงไก่ไข่ 2 ตัว เพื่อให้มีไข่ไว้บริโภคอย่างน้อยวันละ 2 ฟอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับเด็กนักเรียนแล้ว ยังสามารถนำมูลไก่ไปทำเป็น ปุ๋ยอินทรีย์ สามารถเพิ่มสารอาหารให้แก่ดินให้กับแปลงผัก พร้อมการคัดแยกขยะ โดยขยะเปียกสามารถนำไปเพิ่มแร่ธาตุให้กับดิน ส่วนขยะประเภทอื่น ๆ ให้คัดแยก เพื่อนำไปรีไซเคิลหรือขายเป็นรายได้ให้กับทางโรงเรียน และเพื่อเป็นการหนุนเสริมความภาคภูมิใจ องค์ความรู้ และเกร็ดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ขอฝากให้ทางโรงเรียนได้นำรูปภาพบุคคลสำคัญของจังหวัด อาทิ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายอำเภอ หรือผู้ประกอบคุณงามความดีแก่จังหวัด มาติดไว้บริเวณ กระดานความรู้ หรือบอร์ดนิทรรศการในบริเวณโรงเรียน เพื่อให้เด็กได้รู้จักและเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ลูก ๆ หลาน ๆ และถือเอาท่านเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ที่ดี เพื่อเติบโตเป็นพลเมืองดีมาร่วมกันจรรโลงสร้างสรรค์พื้นที่ สร้างสรรค์สังคม และประเทศชาติให้มีความมั่นคงสถาพรอย่างยั่งยืนสืบไป
ที่มา: สำนักข่าวบ้านเมือง
25 มกราคม 2567
เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 เวลา 16.00 น. ที่โรงเรียนบ้านปรางคล้า ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วยนายชยดิฐ หุตานุวัชร์ ประธานสถาบันทิวา นางสาวจิณิณ ตระการสืบกุล ประธานมูลนิธิอิ่มอกอิ่มใจ และได้รับเมตตาจาก พระราชวชิราลังการ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธ) เจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณวราราม วรวิหาร ร่วมมอบจักรยาน รวม 70 คัน ให้กับนักเรียนในพื้นที่อำเภอปากช่อง โดยมี รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายบรรจบ จันทรัตน์ รองอธิบดีกรมการปกครอง นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ว่าที่ร้อยเอก ธีรพงศ์ ครุธดิลกานันท์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายคณัสชนม์ ศรีเจริญ นายอำเภอปากช่อง นายพัฒนพงษ์ ซาชิโย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 4 หัวหน้าส่วนราชการ นางมาลัย มูลภักดี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปรางคล้า คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ร่วมกิจกรรม
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญกับการศึกษาของเด็กและเยาวชน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้ เด็กไทยทุกคนเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน การดูแลสุขภาพที่ดีและพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านการส่งเสริมให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสมตามวัย รวมไปถึงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ และการปฏิบัติตนที่ดีต่อสังคม มีความรักสามัคคี และให้ความสำคัญกับสถาบันหลักของชาติ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้และรับผิดชอบเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม จนเกิดเป็นวิถีชีวิตอย่างยั่งยืน
“การได้มาพบปะคณะผู้บริหาร คุณครู และนักเรียนในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในวันนี้ เป็นโอกาสอันดีที่ตนได้นำคณะผู้บริหารจากกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนภาคีเครือข่ายมาร่วมมอบจักรยานให้กับลูก ๆ หลาน ๆ เพื่อการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่สถานศึกษา สถานสงเคราะห์ต่าง ๆ ตาม นโยบายของกระทรวงมหาดไทย เป็นการขับเคลื่อนพลัง "บวร" บ้าน วัด ราชการ และโรงเรียน โดยได้รับเมตตาอย่างสูงยิ่งจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระราชวชิราลังการ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (ธ) เจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณวราราม วรวิหาร ผู้เป็นหลักชัยของพี่น้องพุทธศาสนิกชนและประชาชนทุกศาสนิก ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา น้อมนำพระราโชบายของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช รวมถึงแนวนโยบายของฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม ซึ่งมีเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ประธานกรรมการฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม ตลอดจนถึงฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม ซึ่งมีเจ้าประคุณสมเด็จ พระมหาธีราจารย์ ประธานกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 สู่หมู่บ้านคุณธรรม ซึ่งมีเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เป็นหลักชัย ร่วมเมตตาให้กระทรวงมหาดไทยได้เป็นภาคีเครือข่ายผ่าน การประกาศเจตนารมณ์ลงนาม MOU ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคศาสนา อันทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอได้รับโอกาสที่ดีร่วมกับคณะสงฆ์สร้างเสริมหนุนนำ สิ่งที่ดีให้เกิดกับประชาชนทุกช่วงวัย” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า วันนี้ลูก ๆ หลาน ๆ โชคดีที่ได้รับ โอกาสดี ๆ จากลุง ๆ ป้า ๆ ผู้ใหญ่ใจดี ที่จะทำให้เราสามารถออกกำลังกาย ได้เดินทางไปมาระหว่างโรงเรียนมาบ้านหรือระหว่างบ้านไปยังสถานที่อื่น ๆ ได้อย่างสะดวก และเกิดประโยชน์กับชีวิต เพราะจักรยานนี้นอกจากจะช่วยให้เรามีร่างกาย ที่แข็งแรง จักรยานยังช่วยให้โลกใบเดียวของพวกเราแข็งแรงด้วย เพราะว่าไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่ปลดปล่อยควันเสียที่จะก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน และที่สำคัญที่สุดของ การใช้จักรยาน คือ ต้องมีวินัยจราจร และมีความระมัดระวัง อย่าขี่กลางถนน ขอให้ขี่ในช่องทางที่จราจรได้จัดไว้ให้ และควรหมั่นเช็คสมรรถนะของจักรยานอยู่เสมอ เพราะจักรยานถือได้ว่าเป็นยานพาหนะที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดถ้าเทียบกับรถหรือยานพาหนะอื่น ๆ บนท้องถนน
“ขอให้ลูก ๆ หลาน ๆ ตั้งใจดูแลสุขภาพของตนเอง รวมไปถึงการเล่นกีฬาต่าง ๆ และที่สำคัญอย่าลืมการเรียนในห้องเรียน ขอให้นำเอาหลักหัวใจนักปราชญ์ อันประกอบด้วย "สุ จิ ปุ ลิ“ โดย สุ : สุตะ คือ การตั้งใจฟังคุณครู ต่อมา คือ จิ : จินตะ คือ การคิดทบทวนตามสิ่งที่คุณครูสอน ซึ่งหากมีข้อสงสัยก็ให้ถาม ซึ่งสิ่งนี้ เรียกว่า ปุ : ปุจฉา พร้อมกับการจดบันทึกเพื่อนำไปทบทวนอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ ที่เรียกว่า ลิ : ลิขิต นอกจากนี้ เราเป็นคนไทยที่ต้องคำนึงถึงคำว่า “พระคุณของผู้มีพระคุณ” ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา : ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี” ด้วยการแสดงกตเวทิตา คุณทั้งต่อคุณพ่อ คุณแม่ คุณครู ญาติผู้ใหญ่ ตลอดจนถึงประเทศชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักที่สำคัญของชาติไทย” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม
จากนั้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์เขาใหญ่เพื่อสังคม ภายในบริเวณโรงเรียนบ้านปรางคล้า โดยมี คุณจิณิณ ตระการสืบกุล ประธานมูลนิธิอิ่มอกอิ่มใจ และกรรมการบริษัท ภูพบฟ้า จำกัด เป็นภาคีเครือข่ายหลักในการสนับสนุน โดยศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ประกอบไปด้วยฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ อาทิ ฐานความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ฐานเขาใหญ่ต้นกำเนิดลำตะคองสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชาวนครราชสีมา ฐานผ่าน ศรัทธาแห่งเจ้าพ่อเขาใหญ่ ฐานประวัติความเป็นมาของดงพญาไฟหรือดงพญาเย็นในปัจจุบัน และฐานเขาใหญ่กับพระบรมโพธิสมภาร ซึ่งเป็นฐานที่นำเสนอเกี่ยวกับ การทดลองฝนหลวงแห่งแรกของประเทศไทย อันเป็นพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงมีต่อพี่น้องประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า พร้อมทั้งเดินชมสนามเด็กเล่น และแปลงผักสวนครัวของโรงเรียน
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวภายหลังการเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ฯ ว่า กระทรวงมหาดไทยได้มอบแนวทางที่สำคัญให้กับท่านผู้ว่าราชการ จังหวัดทุกจังหวัด ตลอดจนนายอำเภอ และภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทย ในการนำแนวทางการสร้าง “สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา” ด้วยการสร้างความเป็น หุ้นส่วน (Partnership) ให้เกิดความร่วมมือกันในชุมชน เพื่อให้เด็กเล็กในท้องถิ่นได้มีโอกาสได้รับการดูแลพัฒนาให้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตามวัยผ่านการเล่น การเรียนรู้สภาพแวดล้อมและธรรมชาติรอบตัว ซึ่งเป็นปฐมบทของคุณภาพชีวิตของเด็กเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไปในอนาคต รวมทั้งดำเนินการขยายผลสนาม เด็กเล่นสร้างปัญญาสู่พื้นที่ของชุมชน ให้มีลักษณะเป็นพื้นที่เปิดโล่ง (Open Space) ให้คนในชุมชนได้มีพื้นที่ร่วมกันทำกิจกรรมอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ในการ พัฒนาศักยภาพ สุขภาวะ คนทุกเพศทุกวัยได้ใช้เวลาร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดความเท่าเทียมทางสังคม ความมั่นคง ความรักและความสามัคคีของคนในชุมชน และประการสุดท้าย ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สนามเด็กเล่นสร้างปัญญาหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยให้มีการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ มีการจัดทำ ถังขยะเปียกลดโลกร้อน สร้างการเรียนรู้จากประโยชน์ที่ได้จากการคัดแยกขยะในแต่ละชนิด มีการบริหารจัดการน้ำด้วยธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด เพื่อใช้ประโยชน์ จากน้ำที่ใช้ทำความสะอาดสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา นำไปรดต้นไม้ในแปลงผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่งคงทางอาหาร มีแปลงผักปลอดสารพิษ ทำรั้วสีเขียวจาก พืชกินได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์และปลูกฝังในการปลูกผักกินเอง เพื่อลดรายจ่าย โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” มาปรับใช้ในพื้นที่ดังกล่าว รวมไปถึง “การเลี้ยงไก่ไข่” โดยให้เด็ก 1 คน เลี้ยงไก่ไข่ 2 ตัว เพื่อให้มีไข่ไว้บริโภคอย่างน้อยวันละ 2 ฟอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับเด็กนักเรียนแล้ว ยังสามารถนำมูลไก่ไปทำเป็น ปุ๋ยอินทรีย์ สามารถเพิ่มสารอาหารให้แก่ดินให้กับแปลงผัก พร้อมการคัดแยกขยะ โดยขยะเปียกสามารถนำไปเพิ่มแร่ธาตุให้กับดิน ส่วนขยะประเภทอื่น ๆ ให้คัดแยก เพื่อนำไปรีไซเคิลหรือขายเป็นรายได้ให้กับทางโรงเรียน และเพื่อเป็นการหนุนเสริมความภาคภูมิใจ องค์ความรู้ และเกร็ดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ขอฝากให้ทางโรงเรียนได้นำรูปภาพบุคคลสำคัญของจังหวัด อาทิ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายอำเภอ หรือผู้ประกอบคุณงามความดีแก่จังหวัด มาติดไว้บริเวณ กระดานความรู้ หรือบอร์ดนิทรรศการในบริเวณโรงเรียน เพื่อให้เด็กได้รู้จักและเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ลูก ๆ หลาน ๆ และถือเอาท่านเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ที่ดี เพื่อเติบโตเป็นพลเมืองดีมาร่วมกันจรรโลงสร้างสรรค์พื้นที่ สร้างสรรค์สังคม และประเทศชาติให้มีความมั่นคงสถาพรอย่างยั่งยืนสืบไป
ที่มา: สำนักข่าวบ้านเมือง
25 มกราคม 2567